เร่งดำเนินการประสานงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ให้คนไทยได้ชมการถ่ายทอดสด ฟุตบอลโลก 2022
ทำไมประเทศไทยถึงเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่พลาดฟุตบอลโลก 2022? เหลืออีกไม่กี่วันที่ ฟุตบอลโลก 2022 จะแข่งขัน
อีก 20 วันก่อนนัดแรกของการแข่งฟุตบอลโลก 2022 ที่จะเริ่มขึ้น ที่ประเทศกาตาร์ประเทศเจ้าภาพ ยังไม่มีความชัดเจนว่า คนไทย 60 ล้านคนจะได้รับชมถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกครั้งสำคัญนี้หรือไม่เนื่องจากผู้ที่จะซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดในประเทศยังไม่ได้แม้ว่า พล.อ. ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและประธานการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้กำชับ กกท. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาให้เร่งดำเนินการประสานงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ให้คนไทยได้ชมการถ่ายทอดสด ฟุตบอลโลก 2022 แต่แล้วผลการหารือยังไม่มีข้อยุติ ประเด็นที่สำคัญที่ทำให้ราคาค่าลิขสิทธิ์ที่ค่อนข้างสูง โดยมูลค่าลิขสิทธิ์ครั้งที่แล้วที่มีเอกชนลงขันกัน 9 ราย ที่ถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ 3 รายคือ ทรูโฟร์ยู อมรินทร์ทีวี และช่อง 5 เมื่อ 4 ปีที่แล้วยังมีต้นทุนถึง 1.4 พันล้านบาท
ทำไมประเทศไทยถึงเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่พลาดฟุตบอลโลก 2022? ไทยชาติเดียว ยังไม่มีลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก
ประเทศไทยยังไม่เห็นตัวแทนที่เข้ามาซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ในขณะที่ชาติต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียนมีผู้ถือลิขสิทธิ์การถ่ายทอดจาก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ทั้งหมดแล้ว ส่วนใหญ่จะได้รับลิขสิทธิ์จากสื่อทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ วิทยุ มือถือและอินเทอร์เน็ตผู้ถือลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ในภูมิอาเซียนข้อมูลของการรายงานผ่านซื่อเว็บไซต์ มีดังนี้
- กัมพูชา บริษัทเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ระดับชาติของกัมพูชา
- อินโดนีเซีย บริษัทมีผู้ถือลิขสิทธิ์ 4 ราย เป็นสถานีโทรทัศน์ 3 รายและบริษัทด้านการเผยแพร่เนื้อหาทางระบบออนไลน์อีก 1 ราย
- สปป.ลาว บริษัทผู้ให้บริการด้านการส่งสัญญาณระบบดาวเทียม โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์
- มาเลเซียบริษัท ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีและทีวีผ่านอินเทอร์เน็ตรายใหญ่
- เมียนมา บริษัทสกาย เน็ต เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
- ฟิลิปปินส์. บริษัททีเอพี ดิจิทัล มีเดีย เวนเจอร์ คอร์ป บริษัทสื่อบันเทิงรายใหญ่ครอบคลุมทุกแพลตฟอร์ม
- สิงคโปร์ บริษัทสตาร์ ฮับ ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่
- ติมอร์-เลสเต บริษัทอีทีโอ ผู้ให้บริการสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม
- เวียดนาม บริษัท สถานีโทรทัศน์และวิทยุแห่งชาติเวียดนาม
ทําไมประเทศไทยถึงเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่พลาดฟุตบอลโลก 2022?กฎ Must Have และ Must Carry ระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการแข่งขันเสรีหรือไม่
รวบรวมแหล่งข่าวในอุตสาหกรรมโทรทัศน์รายหนึ่งบอกกับบีบีซีไทยว่า สาเหตุที่ปีนี้ไม่มีภาคเอกชนรายใดเข้ายื่นประมูลการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลโลกครั้งนี้ มาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของกลุ่มที่คว้าสิทธิการถ่ายทอดฟุตบอลโลกครั้งที่แล้ว ที่รัสเซียเป็นเจ้าภาพ ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทเอเนอร์จี ดีเวลลอปเมนต์ กลุ่มบริษัท คิง พาวเวอร์บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล, บมจ. บางจาก คอร์ปอเรชั่น และ บมจ. คาราบาวกรุ๊ป โดยครั้งนั้นเพื่อให้เป็นไปตามกฎ เรากำหนดให้ในรายการแข่งขันกีฬานานาชาติต้องได้รับการถ่ายทอดโดยผู้ชมคนไทยไม่ต้องเสียเงินเลยสักบาทเดียว รับชมได้ฟรีจึงทำให้ต้องถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล 3 สถานี ช่องทรูโฟร์ยู ช่องอมรินทร์ทีวี และช่อง 5 ตามกฎระเบียบ กสทช. ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ประกอบด้วย ประกาศ กสทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์รายการ โทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป การแข่งขันกีฬา 7 ประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะจะต้องออกอากาศผ่านฟรีทีวีเพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับชมเท่านั้น โดยประกอบด้วย รายการแข่งขันกีฬา ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย
ทำไมประเทศไทยถึงเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่พลาดฟุตบอลโลก 2022? บิ๊กก้อง ยันแผนซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกยังเดินหน้าต่อ
ผู้นำอย่าง บิ๊กก้อง ได้ขอซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ยังเดินหน้า แม้ตัวเลขของไทย ที่อยู่ในเรตราคาเดียวกับ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย จะสูงถึง 40 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.5 พันล้านบาท แต่ บิ๊กก้อง กำลังต่อรองกับเอเยนต์ ให้ราคาลดลงมาอยู่ ส่วนแหล่งเงินที่จะนำมาใช้ซื้อลิขสิทธิ์ หลักๆ กำลังหารือกันอย่างต่อเนื่องว่าจะใช้งบประมาณกันมากน้อยแค่ไหน ณ วันที่ 28 ต.ค. 65 นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังประชุมระหว่าง บอร์ด กสทช. ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย เรื่องขอยืนการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 การประชุมครั้งนี้ยังไม่ได้ผลข้อสรุป เนื่องจากรายละเอียดต่างๆ ยังไม่ชัดเจน เพียงการพูดคุยหารือขอให้ทาง กสทช. ช่วยสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดสด หากสามารถซื้อลิขสิทธิ์ได้มาแล้ว โดยภาครัฐเป็นผู้นำนั้น ในเรื่องการถ่ายทอดสดผ่านทีวี คิดว่าทางเทคนิคมีความพร้อม ไม่มีปัญหา